บทความ

เชื้อดื้อยา ปัญหาจากการปนเปื้อนยาในสิ่งแวดล้อม

ถึงแม้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 รัฐบาลโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้พยายามรณรงค์และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยาที่คร่าชีวิตคนไทยสูงถึงปีละ 20,000 20,000 -38,000 38,000 คน รวมถึงปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆ ซึ่งทาให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึงละ 46,000 46,000 ล้านบาทต่อปี แต่ปัญหาผู้เสียชีวิตจากสาเหตุการติดเชื้อดื้อยาดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นเท่าใดนัก

ยาและยีนดื้อยาปฏิชีวนะตกค้างในสิ่งแวดล้อมบำบัดได้อย่างไร

ยาปฏิชีวนะเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ได้ช่วยชีวิตผู้คนมากมายตั้งแต่รักษาอาการติดเชื้อธรรมดาไปจนถึงวัณโรคและมาลาเรีย รวมทั้งถูกนำมาใช้ระหว่างการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น การผ่าตัดหรือการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ แม้กระนั้นภัยจากเชื้อดื้อยากำลังกลายเป็นวิกฤตที่เป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก ที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ ในวงการแพทย์เท่านั้น

ทีมนักวิจัยภายนอกคณะ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์

เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา มีทีมนักวิจัยภายนอกคณะ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ ซึ่งตั้งอยู่ชั้น 3 อาคารภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการเยี่ยมชมเครื่องมือของศูนย์ โดยนักวิจัยทุกท่านได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาการเยี่ยมชม

ถอดบทเรียนการจำลองอากาศ กรณีโรงงานหมิงตี้เคมีคอล

เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามลพิษถูกปลดปล่อยออกมาจากเหตุโรงงานหมิงตี้เคมีคอลเกิดการระเบิดและมีเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นปริมาณเท่าไหร่ และแพร่กระจายไปที่ได คำตอบคือ เราอาจไม่สามารถรู้ได้แท้จริง เพราะไม่ได้ตรวจวัดได้ทันทีแต่เราคำนวณได้โดยใช้แบบจำลองการแพร่กระจายมลพิษอากาศ